ธิดาดอย (ชาพญาไพร)

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

(gallery) 2009107_85769.jpg

   ประเพณีโล้ชิงช้า

(gallery) 2009107_85646.jpg

    ปีใหม่ลูกข่าง

(gallery) 2009107_85590.jpg

    ปีใหม่ไข่แดง

(banner2) 2008109-29-46003.jpg
(gallery) 2009107_85535.jpg

     ปีใหม่ไข่แดง

(gallery) 2009107_85862.jpg

      ปีใหม่ไล่ผี

 (gallery) 2009107_85703.jpg 


 
อาหารกลางวันของเรา ของฝากจากชนเผ่า สาวญี่ปุ่นแต่งชุดอาข่า ถ่ายรูปกับเผ่าอาข่า
ข้อมูลบ้านอาข่า
อาข่าจะมีการสร้างบ้าน 2 ลักษณะ คือ
1.บ้านที่สร้างให้มีพื้นที่อาศัยติด
2. บ้านแบบยกพื้นทั้งหลัง
บ้านของชาวอาข่าแต่ละหลังจะมีที่กั้นห้องเป็นสองฝ่าย คือ ห้องของฝ่ายผู้ชาย และห้องของฝ่ายผู้หญิง
(ผู้ชายกับผู้หญิงไม่สามารถนอนด้วยกันได้) มีเตาไฟไว้ภายในบ้าน 2 เตา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของบ้านแต่
ละหลังด้วย
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในบ้าน
1.ศาลขวัญข้าว สร้างไว้เพื่อเก็บพันธุ์ข้าว
2.หิ้งผีบรรพบุรุษ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในบ้าน ซึ่งเปรียบเสมือนหิ้งพระของคนไทย จะอยู่เหนือต้นเสา
ระหว่างห้องผู้หญิง และห้องผู้ชาย สร้างไว้เพื่อเป็นที่อยู่ของผีบรรพบุรุษ
3.ห้องนอนฝ่ายหญิง เป็นห้องที่หวงห้ามภายในบ้านแขกจะเข้าไปก่อนได้รับอนุญาตไม่ได้
หมู่บ้านอาข่า ลานประจำหมู่บ้าน บ้านอาข่า ระเบียงบ้าน
หมู่บ้านอาข่า ยุ้งเก็บข้าว ใต้ถุนบ้าน ลักษณะหมู่บ้าน
ประเพณีโล้ชิงช้า หรือ วันปีใหม่ของอ่าข่า
   ประเพณีโล้ชิงช้า หรืออาข่าเรียกว่า "แย้ขู่อ่าเผ่ว" ซึ่งจะมีการจัดขึ้นทุกๆ ปี ประมาณปลายเดือนสิงหาคม
 ถึงต้นเดือนกันยายน
ประวัติความเป็นมา
   ประเพณีโล้ชิงช้ามีต้นกำเนิดที่ประเทศจีนในปัจจุบัน ประเพณีโล้งชิงช้าถือเป็นประเพณีทีให้ความสำคัญ
กับผู้หญิง ฉะนั้นผู้หญิงอาข่ามีการแต่งกาย ด้วยเครื่องทรงต่างๆ อย่างสวยงามได้เต็มที่ ในการจัดประเพณี
โล้ชิงช้าแต่ละปีของอาข่า จะต้องมีฝนตกลงมา ถ้าปีไหนเกิดฝนไม่ตก อาข่าถือว่าไม่ดี ผลผลิตที่ออกมาจะ
ไม่งอกงาม ประเพณีโล้ชิงช้า มีระยะเวลาในการจัดรวม 4 วันด้วยกัน
วันแรก
ผู้หญิงอาข่าที่เป็นแม่บ้าน หรือลูกสาว จะแต่งตัวด้วยชุดประจำเผ่าเต็มยศแล้วออกไปตัดน้ำที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
เพื่อจะนำมาใช้ในการประกอบพิธีกรรม ซึ่งในวันนี้ก็มีการตำข้าวปุ๊ก ข้าวปุ๊กคือข้าวเหนียว ที่แช่ไว้ประมาณ 1 คืน
 จากนั้นก็นำมานึ่ง แล้วก็มาตำอย่างละเอียด มีการตำงาดำผสมเกลือด้วย ข้าวปุ๊กต้องใช้ในการทำพิธีกรรมครับ
วันที่สอง
ผู้นำศาสนา (หรือหมอผีของหมู่บ้าน) ก็จัดการสร้างชิงช้า ชาวบ้านก็จะมารวมตัวช่วยงานกันอย่างเต็มที่
ในวันนี้จะไม่มีการฆ่าสัตว์ หลังจากที่สร้างชิงช้าเสร็จ ก็จะมีพิธีเปิดโล้ชิงช้าโดย ผู้นำศาสนาจะเป็นผู้เปิด
โล้ก่อน จากนั้นทุกคนก็สามารถโล้ได้ หลังจากที่สร้างชิงช้าใหญ่ของชุมชนเสร็จก็ต้องมาสร้างชิงช้าเล็ก
ไว้ที่หน้าบ้านเพื่อให้ลูกหลานของตนเล่น ทุกครัวเรือนจะต้องสร้างเพราะถือว่าเป็นพิธี
วันที่สาม
วันนี้ถือเป็นวันพิธีใหญ่ มีการเลี้ยงฉลองกันทุกครัวเรือนมีการเชิญผู้อาวุโส หรือแขกต่างหมู่บ้านมา
ร่วมรับประทานอาหารในบ้านของตน ผู้อาวุโสก็จะมีการอวยพรให้กับเจ้าบ้านประสบแต่ความสำเร็จในวันข้างหน้า
วันที่สี่
วันสุดท้ายของพิธีกรรม วันนี้จะไม่มีการประกอบพิธีกรรมอะไรทั้งสิ้น นอกจากพากันมาโล้ชิงช้า
เพราะเป็นวันสุดท้ายที่จะได้โล้ในปีนี้
 วิธิการสร้างชิงช้า....เพื่องานประเพณีโล้ชิงช้า
 

   

     
 ชุดอาข่า...มาถึงหมู่บ้านอาข่าทั้งทีก็ต้องลองสวมชุดกันสักหน่อยครับ.....
   

 

 

 

 

   หลังจากที่ได้สำรวจหมู่บ้านกันแล้ว สิ่งที่ต้องเรียนรู้อย่างขาดไม่ได้คือ ข้อห้ามตามประเพณีที่เรา
ต้องระวังมากหน่อยเพราะเราไม่รู้ว่าจะเสียผีเมื่อไหร่
1. ศาลผีบ้าน คล้ายศาลพระภูมิของเรา
2. ประตูหมู่บ้าน มีทั้งหน้าหมู่บ้านและหลังหมู่บ้าน ที่ประตูหมู่บ้านก็จะมีตุกตาไม้ตามรูปที่ถ่ายมา
ให้ดูกัน
3. บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งน้ำในบ่อเขาจะใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ
4. ตะกร้าในห้องนอนผู้หญิง ผมเองไม่ได้เข้าไปถ่ายมา
ข้อห้ามทั้ง 4 ข้อ ถ้าใครไปจับไปสัมผัส ก็ต้องมีการเสียผีครับ จะถูกจะแพงก็แล้วแต่หมู่บ้านจะ
กำหนดครับ
ศาลประจำบ้าน ตุ๊กตาหน้าหมู่บ้าน ชนเผ่าอาข่า เด็กอาข่า ผู้เขียน
ประตูหน้าหมู่บ้าน ประตูหลังหมู่บ้าน ตุ๊กตาหลังหมู่บ้าน บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
เตาไฟบนบ้าน อาหารอาข่า การละเล่น เต้นรำรอบกองไฟ
   สำหรับคืนนี้ผมเองนอนโฮมสเตย์ คือนอนที่บ้านอาข่าเลยครับ เจ้าของบ้านอากองก็ใจดี จัดที่หลับที่นอน
ไว้พิเศษ
   บ้านอ่าขา มี 2 ห้อง แยกชาย-หญิง (รวมทั้งสามี ภรรยาก็ต้องนอนกันคนละห้อง) ที่ปลายเท้าจะมี
กองไฟก่อเอาไว้ และบ้านทุกหลังก็จะมีระเบียงหน้าบ้านไว้เป็นที่นั่งเล่น ทำอาหาร รวมกลุ่มสังสรรค์
 หลังจากที่ทานอาหารเย็นเรียบร้อยแล้ว กลางคืนก็มีการเต้นรำของผู้หญิง ซึ่งงานปีใหม่นี้มีกัน
4 วัน 4 คืน
   พูดกันแบบง่ายๆว่า งานปีใหม่หรือประเพณีโล้ชิงช้าเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อผู้หญิงโดยเฉพาะ เพื่อให้ผู้หญิง
ได้พักผ่อนบ้างหลังจากทำงานหนักมาเกือบตลอดปี ดังนั้นก็จะมีผู้หญิงเต้นรำกันทั้งกลางวันและกลางคืน
 มีการฆ่าหมู เชือดวัว เลี้ยงเหล้าป่า(สรถ.)กันเต็มที่...
 รูปการเต้นรำของชาวอาข่า....
     
 วันที่ 5 กันยายน 2547
: เช้าวันนี้ในหมู่บ้านมีการฆ่าหมู ล้มวัว แบ่งสรรปันส่วนกัน จากนั้นก็มาดูการตำข้าวปุ๊ก (ข้าวคลุก)
ซึ่งเขาจะเอาข้าวเหนียวมาแช่น้ำไว้ 1 คืน จากนั้นก็นำมานึ่งให้สุกแล้วมาตำในครกให้ละเอียดแล้ว
มาคลุกกับงา และนำำไปย่างไฟหรือทอดก็ได้ ถ้าหากใครได้กินข้าวปุ๊กก็ถือว่าได้บุญมาก ผมเอง
ได้ข้าวปุ๊กมา 2 ชิ้น ก็ถือว่าได้บุญกันแต่เช้ากันเลย
อาหารเช้า ข้าวปุ๊ก บ้านที่ผมพัก เต้นรำของชาวอาข่า
: หลังจากที่ทานอาหารเช้า ผู้หญิงก็จะแต่งตัวออกมาเต้นรำกันต่อ จากนั้นก็ไปโล้ชิงช้า ถือว่าเป็นการเอา
ฤกษ์เอาชัยให้หมู่บ้าน

 บทสรุปจากบทเพลงมิดะ
: หลังจากที่ได้ไปใช้ชีวิตกับชาวอาข่าและได้สอบถามตำนานแห่งมิดะ กะลาล่าเซอ และลานสาวกอด ก็ไดคำ

ตอบมาว่า ดำนานมิดะและกะลาล่าเซอ : เรื่องนี้ไม่มีจริง เป็นเพียงแต่เรื่องเล่าของคนเมือง มิดะในภาษา

อาข่าหมายถึงหญิงสาวที่หน้าตาสวย ส่วนลานสาวกอดก็คงเป็นลานของหมู่บ้านที่ไว้สำหรับจัดงาน

ประเพณีต่างๆ ครับ

 ตอนบ่ายแล้ว ผมเองก็อำลาชาวอาข่า พวกเราก็เดินทางสู่หมู่บ้านยะฟู ซึ่งบ้านชาวเขาเผ่าลาหู่
(มูเซอแดง) ระยะทางประมาณ 3 กม. เส้นทางก็ขึ้นดอย เราใช้เวลาเดินทางประมาณชั่งโมงครึ่ง
ก็ถึงบ้านยะฟู ของชนเผ่าลาหู่ ติดตามเรื่องราวของผมต่อได้ที่ บันทึกการเดินทางสู่...บ้านลาหู่ ครับ
เรียนรู้ภาษาของชาวอาข่า
อู่ดู่ถ่องมะ : สวัสดีครับ/ค่ะ
น้อจ้อซะโดเมี๊ยหล่า
: คุณสบายดีหรือเปล่า
น้ออ่าก๊าแนล้าเถ่ : คุณมาจากไหน?
ง้าเจ่ห่าแนล๊าเอ : ผม/ฉัน มาจากเชียงราย
น้ออ่าก๊าอี้แวยเอ : คุณกำลังจะไปไหน?
หน่อเอชอเมี๊ยอ่าโย้ยคุเท : คุณชื่ออะไร?
หง่าเออชอเมี๊ย...อาผ่า...แล้คุเอ : ผม/ฉันชื่อ...อาผ่า...ครับ/ค่ะ
กื่อหล่องหื่อมะเต : ขอบคุณครับ/ค่ะ
อิ้จุด้อเออ : ดื่มน้ำ
ห่อจ่าจ่าเออ : กินข้าว
หว่อม๊ะเด : ลาก่อนนะ
อ่าเจ่มิแน :  ทำไม?
ถี่เจ่หม่าเงอะ :  ไม่เป็นไร
ง้าหนองก่ายะ/เออ :  ฉันรักเธอ

หงาแปชอปายาแม๊โล่/หล่า
 :  ช่วยฉันหน่อยได้ไหม?
อ๊ะแมยเนี๊ย :  เท่าไหร่?
ยาถ่องโจ้วก่าหล่าห่าแช้เมี๊ย :  ยินดีที่ได้รู้จัก
อี่นอง :  วันนี้
อ่ะคะนือส่อ :  วันพรุ่งนี้
มี๊นอง :  เมื่อวานนี้
อ๊ะมยาง :  เท่าไหร่?
อ่าก้า :  ที่ไหน?
อ่าก๊าอี๊เท :  ไปไหน?


Advertising Zone    Close

Online: 2 Visits: 30,877 Today: 55 PageView/Month: 140

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...